เมนู

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ ที่
เกิดภายหลัง และโมหะ เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของ
ปัจฉาชาตปัจจัย.

12. อาเสวนปัจจัย


[88] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอาเสวนปัจจัย
เหมือนกับ อนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะก็ดี ภวังค์ก็ดี ไม่มี ในอาเสวนปัจจัย พึงเว้นทั้ง 9 วาระ.

13. กัมมปัจจัย


[89] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุก-
ธรรม ซึ่งเป็นวิบาก ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.

2. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วย
อำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ที่เป็นนานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุก-
ธรรม ซึ่งเป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
3. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม และ
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ นานาขณิกะ
ที่เป็น สหาชาตะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ที่เป็น นานาขณิกะ ได้แก่
เจตนาที่เป็นสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุก-
ธรรม ซึ่งเป็นวิบาก และกฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
4. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย-
อำนาจของกัมมปัจจัย

คือ เจตนาที่เป็นอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตต-
สมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของกัมมปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

14. วิปากปัจจัย


[90] 1. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นสเหตุกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
2. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสเหตุกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
3. สเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สเหตุกธรรม และ
อเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของวิปากปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นสเหตุกธรรม ซึ่งเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
4. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของวิปากปัจจัย